กดข้อบังคับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๒
เพื่อให้การบริหารงานการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยบรรลุวัตถุประสงค์ จึงเห็นสมควรออก ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จึงมีมติให้ออกข้อบังคับต่อไปนี้ :-
บททั่วไป
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๒”
ข้อ
๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด คำสั่ง หรือ
ประกาศอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบังคับนี้
“นิสิต”
หมายถึง ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีเรียบร้อยแล้ว
ข้อ
๕ ให้อธิการบดีรักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
ข้อ
๖ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
๖.๑
คุณสมบัติของนิสิตที่เป็นพระภิกษุสามเณร
๖.๑.๑
เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคขึ้นไป หรือ
๖.๑.๒
เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และเป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือ ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
๖.๑.๓
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญศึกษา
หรือ
๖.๑.๔
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือได้ประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง
และเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว
ต้องศึกษาวิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยกำหนดไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
หรือ
๖.๑.๕
เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรม ผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่าและสอบได้นักธรรมชั้นเอก และได้รับการแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า
๓ ปี
๖.๑.๖
เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อขอรับปริญญาตามหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
๖.๑.๗
เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
๖.๑.๘
ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
๖.๒
คุณสมบัติของนิสิตที่เป็นคฤหัสถ์ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ
๗ มหาวิทยาลัยจะดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครนิสิตใหม่
โดยพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบคัคเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี
ในแต่ละปีการศึกษา
ข้อ
๘ มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
หรือ สถาบันอุดมศึกษาอื่นขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตเพื่อเข้าศึกษาในอีกสาขาหนึ่งได้
ทั้งนี้โดยคณะกรรมการประจำคณะ หรือ คณะกรรมการประจำวิทยาลัยที่ผู้นั้นประสงค์จะเข้าศึกษามีมติเห็นชอบ
ให้คณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำวิทยาลัย
ที่จะรับเข้าศึกษามีอำนาจพิจารณาเทียบรายวิชา
และ หน่วยกิตที่ผู้นั้นได้ศึกษาแล้ว
พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขและจำนวนหน่วยกิตที่จะต้องศึกษาในสาขาวิชาที่ผู้นั้นขอเข้าศึกษาทั้งนี้จะต้องมีหน่วยกิตสะสมใหม่ไม่น้อยกว่า
๖๐ หน่วยกิต และมีเวลาศึกษาอีกไม่น้อยกว่า ๓
ภาคการศึกษาปกติ
ข้อ
๙ การนับวันต่าง ๆ ตามข้อบังคับนี้ มหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี
ๆ ไป
หมวดที่ ๑
การจัดและวิธีการศึกษา
ข้อ
๑๐ การจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยให้ใช้ระบบหน่วยทวิภาค
(Semester Credit System) โดยแบ่งเวลาการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษาออกเป็น
๒ ภาคการศึกษาปกติ
๑๐.๑
ภาคการศึกษาที่หนึ่ง (First Semester) มีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า
๑๖ สัปดาห์
๑๐.๒
ภาคการศึกษาที่สอง (Second Semester) มีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า
๑๖ สัปดาห์
นอกจากนั้นจะจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ( Summer Session) ต่อจากภาคการศึกษาที่สองอีก
๑ ภาคก็ได้ โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๖ สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการเรียน
ในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ ภาคการศึกษาฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับ
ข้อ
๑๑ ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรีต้องไม่ต่ำกว่า
๘ ภาคการศึกษาปกติ และต้องปฏิบัติงานตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอีก
๒ ภาคการศึกษา
ยกเว้นในกรณีข้อ ๘
ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรต่อเนื่องระยะเวลาการศึกษาให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ
๑๒ หลักสูตรระดับปริญญาตรีให้ศึกษารายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ
๑๓ ให้กำหนด “หน่วยกิต” (Credit) เป็นหน่วยสำหรับวัดปริมาณการศึกษาตามลักษณะงานของแต่ละรายวิชา
ข้อ
๑๔ การกำหนดค่าหน่วยกิตของรายวิชาในภาคการศึกษาปกติให้กำหนดเกณฑ์ดังนี้
๑๔.๑
รายวิชาที่นิสิตใช้เวลาฟังบรรยายสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง และมีการเตรียมหรือการศึกษานอกเวลาเรียน
อีกสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมงตลอดภาคการศึกษาให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๑๔.๒
รายวิชาที่นิสิตใช้เวลาปฏิบัติการอภิปรายหรือสัมมนาสัปดาห์ละ
๒-๓ ชั่วโมง และ เมื่อรวมกับการศึกษานอกเวลาเรียนแล้ว นิสิตใช้เวลาไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ
๓ ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษาให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
ข้อ
๑๕ ให้แต่ละคณะหรือวิทยาลัยกำหนดหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิตที่จะต้องเรียน
โดยจะต้องมีวิชาแกนพระพุทธศาสนาและวิชาพื้นฐานทั่วไปที่มหาวิทยาลัยกำหนดในแต่ละหลักสูตร
ข้อ
๑๖ การเลือกและการขอเปลี่ยนสาขาวิชาเอก ให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ
หรือ วิทยาลัยที่จะออกระเบียบและกำหนดหลักเกณฑ์
ข้อ
๑๗ ให้แต่ละคณะหรือวิทยาลัยส่งชื่อรายวิชาที่จะเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้กองทะเบียนและวัดผลทราบก่อนวันลงทะเบียน
ภายหลังวันลงทะเบียนรายวิชาแล้ว หากคณะหรือวิทยาลัยจำเป็นต้องเปิดสอนรายวิชาใหม่เพิ่มขึ้น
หรือไม่เปิดสอนรายวิชาใดที่ได้แจ้งไว้ก็ให้ดำเนินการได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
หรือคณะกรรมการประจำวิทยาลัยและต้องแจ้งให้กองทะเบียนและวัดผลทราบทั้งนี้ต้องไม่เกิน
๑๕ วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา
ข้อ
๑๘
ให้มหาวิทยาลัยออกระเบียบและกำหนดหลักเกณฑ์
ซึ่งไม่ขัดกับข้อบังคับนี้ในการรับนิสิตที่จะขอย้ายจากคณะหรือวิทยาลัยต่างๆ
ภายในมหาวิทยาลัยหรือโอนจากสถาบันการศึกษาอื่นโดยจะต้องมีเวลาการศึกษาต่อเนื่องในคณะหรือวิทยาลัยที่เข้าศึกษาใหม่ไม่น้อยกว่า
๓
ภาคการศึกษาปกติและต้องมีหน่วยกิตสะสมใหม่ไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต
ข้อ
๑๙ การเทียบฐานะชั้นปีที่ของนิสิตให้มหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนหน่วยกิตที่นิสิตลงทะเบียนเรียน
และสอบได้ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์พิจารณาและกระทำเมื่อสิ้นภาคการศึกษาปกติทุกภาค
ข้อ
๒๐ สภาพนิสิตแบ่งออกได้ดังนี้ :-
๒๐.๑
นิสิตสภาพสมบูรณ์ (On Promotion)
ได้แก่
นิสิตที่สอบได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ ๒.๐๐ ขึ้นไป
๒๐.๒
นิสิตสภาพรอพินิจ (On Probation)
ได้แก่
นิสิตที่สอบได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๒.๐๐
การจำแนกสภาพนิสิตจะกระทำเมื่อสิ้นภาคการศึกษาแต่ละภาคทั้งนี้ยกเว้นนิสิตที่เข้าศึกษาเป็นปีแรก
ซึ่งการจำแนกสภาพจะกระทำเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่สองนับแต่เริ่มเข้าศึกษา
กองทะเบียนและวัดผลจะต้องแจ้ง
ภาพรอพินิจให้นิสิตที่มีสภาพเช่นนั้นและอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตผู้นั้นทราบโดยเร็วที่สุด
ข้อ
๒๑ การลาพักและการกลับเข้าศึกษาใหม่ นิสิตอาจยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาต่อคณบดี
หรือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-
๒๑.๑
ถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
๒๑.๒
ได้รับทุนการศึกษาระหว่างประเทศ หรือทุนอื่นใดซึ่งมหาวิทยาลัยเห็นสมควรสนับสนุน
๒๑.๓
เจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานานตามคำสั่งของแพทย์โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อมหาวิทยาลัย
๒๑.๔
มีเหตุจำเป็นสุดวิสัยอื่นที่สำคัญ
ในกรณีที่นิสิตขอลาพักก่อนลงทะเบียนรายวิชา
หรือ ก่อนเปิดภาคการศึกษานิสิตต้องยื่นคำร้องต่อคณบดี หรือ ผู้อำนวยการวิทยาลัยที่ตนสังกัดอย่างช้าภายใน
๗ วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษา และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อรักษสถานภาพการเป็นนิสิตไว้
หากไม่ปฏิบัติตามมหาวิทยาลัยจะถอนชื่อนิสิตผู้นั้นออกจากทะเบียนนิสิตและให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตทันที
อนึ่ง
ถ้านิสิตขอลาพักการศึกษา หลังจากที่ได้ลงทะเบียนรายวิชาแล้วหรือในระหว่างภาคการศึกษา
นิสิตต้องยื่นคำร้องโดยเร็วที่สุดและจะต้องมีเวลาเรียนโดยสม่ำเสมอในระยะก่อนการยื่นคำร้องขอลาพัก
หากรายวิชาใดนิสิตขาดเรียนเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดให้ถือว่าได้ผลการศึกษาระดับ
F เฉพาะรายวิชานั้นและให้นำไปคิดค่าระดับเฉลี่ยด้วย
ข้อ
๒๒ ให้คณบดีหรือผู้อำนวยการวิทยาลัยที่นิสิตสังกัดอนุมัติให้ลาพักได้ครั้งละไม่เกิน
๒ ภาคการศึกษาปกติ ถ้านิสิตยังมีความจำเป็นที่จะต้องขอลาพักต่อไปอีก
ให้ยื่นคำร้องขอลาพักใหม่ตามวิธีการดังกล่าวแล้ว
นิสิตที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักหรือถูกสั่งพักการศึกษาเมื่อจะกลับเข้าศึกษาใหม่
จะต้องยื่นคำร้องขอกลับเข้าศึกษาต่อคณบดีหรือผู้อำนวยการวิทยาลัยก่อนวันเปิดภาคการศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๕ วัน หากไม่ปฏิบัติตามจะไม่มีสิทธิลงทะเบียนรายวิชาในภาคการศึกษานั้น
เว้นแต่คณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำวิทยาลัยเห็นว่ามีเหตุสำคัญและจำเป็นที่ทำให้นิสิตผู้นั้น
ไม่อาจยื่นคำร้องขอกลับเข้าศึกษาได้ทันตามกำหนดจะอนุมัติให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้
ข้อ
๒๓ คณะหรือวิทยาลัยจะต้องแจ้งรายชื่อนิสิต ที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักหรือถูกสั่งพักการศึกษาและรายชื่อนิสิต
ที่กลับเข้าศึกษาใหม่ให้กองทะเบียนและวัดผลทราบโดยเร็วที่สุด
หมวดที่ ๒
การขึ้นทะเบียนนิสิต การลงทะเบียน
การเพิ่มและการถอนรายวิชา
ข้อ
๒๔ การขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต
๒๔.๑
ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตต้องนำหลักฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด มายื่นต่อกองทะเบียนและวัดผล
ด้วยตนเองตามวันเวลาและสถานที่ ที่กำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
๒๔.๒
ผู้ไม่สามารถมายื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตตามวันที่กำหนดต้องแจ้งเหตุขัดข้อง
ให้กองทะเบียนและวัดผลทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน ๗ วัน หลังจากวันที่กำหนดไว้
มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์
ในกรณีที่ได้แจ้งให้กองทะเบียนและวัดผลทราบตามความในวรรคแรกแล้วต้องมาขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตด้วยตนเอง
ยกเว้นกรณีที่มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่ามีเหตุจำเป็นอันหลีกเลี่ยงมิได้
จึงอนุญาตให้มอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียนได้ ทั้งนี้ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยภายใน
๗ วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษา
ข้อ
๒๕ การลงทะเบียนรายวิชา
๒๕.๑
นิสิตต้องลงทะเบียนรายวิชาตามที่ประสงค์จะเรียนตามแบบฟอร์มและหลักเกณฑ์ที่กองทะเบียนและวัดผลกำหนดไว้
๒๕.๒
ให้มีการลงทะเบียนรายวิชาทุกภาคการศึกษาและการลงทะเบียนทุกครั้ง
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งจะลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ในบัตรลงทะเบียนรายวิชา
๒๕.๓
นิสิตต้องมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเองตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนดพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมและส่วนที่ค้างชำระ
(ถ้ามี) ให้เรียบร้อย
จึงจะถือว่าการลงทะเบียนนั้นสมบูรณ์
และนิสิตจะได้รับรายงานผลการศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น
๒๕.๔
นิสิตที่มาลงทะเบียนรายวิชาหลังจากวันที่กองทะเบียนและวัดผล
กำหนดให้ถือว่ามาลงทะเบียนช้าต้องชำระค่าธรรมเนียม เพิ่มเป็นพิเศษตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ซึ่งจะประกาศให้ทราบ
เป็นคราว ๆ ไป
๒๕.๕
นิสิตที่ไม่มาลงทะเบียนรายวิชาภายใน ๑๐ วันแรกของภาคการศึกษาปกติ
หรือ ๗ วันแรกของภาคการศึกษาภาคฤดูร้อน เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะ
หรือคณะกรรมการประจำวิทยาลัยเป็นกรณีพิเศษ ทั้งระยะเวลาที่พ้นกำหนดนั้นไม่นานเกินสมควร
และต้องชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๒๕.๔
ในกรณีที่นิสิตได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นกรณีพิเศษเช่นนี้
ถ้าเวลาเรียนนับจากวันลงทะเบียนรายวิชาเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ
๘๐ ของภาคการศึกษานั้นก็ให้มีสิทธิเข้าสอบในรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนด้วย
แต่ทั้งนี้ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาที่เหลือ
๒๕.๖
นิสิตที่ไม่ลงทะเบียนรายวิชาในภาคการศึกษาปกติ ภาคใดภาคหนึ่ง
ที่มหาวิทยาลัยเปิดทำการสอน จะต้องลาพักการศึกษาภายใต้เงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในข้อ
๒๑ หากไม่ปฏิบัติดังกล่าว มหาวิทยาลัย
จะถอนชื่อนิสิตผู้นั้นออกจากทะเบียนนิสิตและให้พ้นสถานสภาพการเป็นนิสิตทันที
๒๕.๗
ถ้าไม่เกินกำหนด ๒
ปีนับจากวันที่มหาวิทยาลัยถอนชื่อนิสิตออกจากทะเบียนนิสิตตามข้อ
๒๑ ข้อ ๒๕.๖ และข้อ ๕๘.๓.๑๓
มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้นิสิตผู้นั้นกลับเข้าเป็นนิสิตใหม่ได้เมื่อมีเหตุอันสมควรโดยให้ถือระยะเวลานั้นเป็นระยะเวลาพักการศึกษา
ในกรณีเช่นนี้
นิสิตต้องเสียค่าธรรมเนียมเสมือนเป็นผู้ลาพักการศึกษา รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่น
ๆ ที่ค้างชำระ (ถ้ามี) ด้วย
ข้อ
๒๖ จำนวนหน่วยกิตที่นิสิตอาจลงทะเบียนเรียนได้ มีดังนี้
:-
๒๖.๑
นิสิตสภาพสมบูรณ์ให้ลงทะเบียนรายวิชาในภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า
๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๑ หน่วยกิต ยกเว้นนิสิตคณะครุศาสตร์ให้เป็นไปตามหลักสูตรของคณะ
ที่มหาวิทยาลัยประกาศใช้ ส่วนในภาคการศึกษาฤดูร้อนให้ลงทะเบียนรายวิชาไม่เกิน
๑๐ หน่วยกิต
๒๖.๒
นิสิตสภาพรอพินิจในภาคการศึกษาปกติ ให้ลงทะเบียนรายวิชาไม่น้อยกว่า
๖ หน่วยกิต และไม่เกิน ๑๕ หน่วยกิต ส่วนในภาคการศึกษาฤดูร้อนให้ลงทะเบียนรายวิชาไม่เกิน
๖ หน่วยกิต
๒๖.๓
นิสิตพิเศษที่มหาวิทยาลัยอนุมัติรับเข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษให้ลงทะเบียนรายวิชาตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
ข้อ
๒๗ นิสิตที่ประสงค์จะลงทะเบียนรายวิชา นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๖ ต้องยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณบดีหรือผู้อำนวยการวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษ
ข้อ
๒๘ การเพิ่มและการถอนรายวิชา
๒๘.๑
การขอเพิ่มรายวิชาจะกระทำได้ภายใน ๑๕ วันแรกของภาคการศึกษาปกติภายใน
๗ วันแรกของภาคการศึกษาฤดูร้อนโดยได้รับอนุมัติจากอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา
๒๘.๒
การขอถอนรายวิชา ต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาภายในเงื่อนไขและให้มีผล
ดังต่อไปนี้ :-
๒๘.๒.๑
ถ้าขอถอนภายใน ๑๕ วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ ๗ วันแรกของภาคการศึกษาฤดูร้อน
รายวิชาที่ถอนนั้นจะไม่ปรากฏในระเบียน
๒๘.๒.๒
ถ้าขอถอนเมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วันแรก แต่ยังอยู่ภายใน ๔๕ วันแรกของภาคการศึกษาปกติหรือเมื่อพ้นกำหนด
๗ วันแรก แต่ยังอยู่ภายใน ๒๐ วันแรกของภาคการศึกษาฤดูร้อนถือว่านิสิตถอนตัวจากการศึกษารายวิชานั้น
และจะได้รับสัญลักษณ์ W ในรายวิชานั้น ทั้งนี้ต้องมีเวลาเรียนในรายวิชานั้น
มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๒๘.๒.๓
การขอถอนเมื่อพ้นกำหนด ตามข้อ ๒๘.๒.๒ นั้นจะกระทำมิได้เว้น แต่คณะกรรมการประจำคณะ
หรือ คณะกรรมการประจำวิทยาลัยเห็นสมควรอนุมัติด้วยเหตุผลพิเศษในกรณีเช่นนี้นิสิตจะได้รับสัญลักษณ์
W ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้ถอนนั้น
๒๘.๒.๔
การถอนซึ่งมิได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการวิทยาลัย
ตามข้อ ๒๘.๒.๓ นิสิตจะได้รับระดับ F ในรายวิชานั้นและให้นำมาคำนวณค่าระดับเฉลี่ยด้วย
๒๘.๒.๕
นิสิตจะถอนรายวิชาจนเหลือจำนวนหน่วยกิตต่ำกว่า ๙ หน่วยกิตในการศึกษาภาคปกติไม่ได้
เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำวิทยาลัย
ข้อ
๒๙ มหาวิทยาลัยจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งสิทธิการได้รับค่าธรรมเนียมคืนในบางกรณี
ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
หมวดที่ ๓
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ข้อ
๓๐ ให้มีการวัดผลการศึกษาทุกรายวิชาที่นิสิตได้ลงทะเบียนไว้แต่ละภาคการศึกษา
ข้อ
๓๑ การวัดผลการศึกษาอาจทำได้หลายวิธี ในระหว่างภาคการศึกษาจะมีการสอบทุกรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ในภาคการศึกษานั้น
ถ้ารายวิชาใดไม่มีการสอบให้คณบดีหรือผู้อำนวยการวิทยาลัยประกาศ
ให้นิสิตทราบก่อนการลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้น
ข้อ
๓๒ นิสิตมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด ในภาคการศึกษานั้น จึงจะมีสิทธิเข้าสอบในรายวิชานั้น
ยกเว้นกรณีตามข้อ ๒๕.๕
นิสิตผู้มีเวลาเรียนในรายวิชาใดไม่ครบเกณฑ์กำหนดดังกล่าว
และมิได้รับอนุมัติจากคณบดีจะได้รับระดับ F ในรายวิชานั้นและให้นำมาคำนวณค่าระดับเฉลี่ยด้วย
ข้อ
๓๓ การประเมินผลการศึกษา
ระบบการประเมินผลการศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น
ให้มีผลการศึกษาระดับ (Grade) และค่าระดับ (Grade-Point) ดังนี้
ผลการศึกษา | ระดับ | ค่าระดับ | |
ดีเยี่ยม | (EXCELLENT) | A | ๔.๐ |
ดีมาก | (VERY GOOD) | B+ | ๓.๕ |
ดี | (GOOD) | B | ๓.๐ |
ค่อนข้างดี | (VERY FAIR) | C+ | ๒.๕ |
พอใช้ | (FAIR) | C | ๒.๐ |
ค่อนข้างพอใช้ | (QUITE FAIR) | D+ | ๑.๕ |
อ่อน | (POOR) | D | ๑.๐ |
ตก | (FAILED) | F | ๐ |
ข้อ
๓๐ ให้มีการวัดผลการศึกษาทุกรายวิชาที่นิสิตได้ลงทะเบียนไว้แต่ละภาคการศึกษา
ข้อ
๓๑ การวัดผลการศึกษาอาจทำได้หลายวิธี ในระหว่างภาคการศึกษาจะมีการสอบทุกรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ในภาคการศึกษานั้น
ถ้ารายวิชาใดไม่มีการสอบให้คณบดีหรือผู้อำนวยการวิทย