ประเทศกันพูชา (Cambodia)
ข้อมูลทั่วไป
ประเทศกัมพูชา | กัมพูชา ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (เขมร: ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជាพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา "พระราชาณาจักรกัมพูชา") เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนามชาวจีนชาวจามและชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกนมานั้นได้ครอบงำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากเป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ ประเทศกัมพูชาได้มีหนึ่งในบันทึกเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศ ใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา และเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมันสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างลึกซึ้ง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเป็นทางการ |
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเมืองหลวง | กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันชาติ | 9 พฤศจิกายน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันเข้าร่วมอาเซียน | 30 เมษายน 2542 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาประจำชาติ | ภาษาเขมร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาราชการ | ภาษาเขมรเป็นทางการของประเทศกัมพูชา และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ในปัจจุบัน มีคนกัมพูชารุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน ได้ โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวของกัมพูชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาสนาประจำชาติ | ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | เงินเรียล (Riel : KHR) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะภูมิศาสตร์ |
กัมพูชาเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ติดกับอ่าวไทย มีพรมแดนติดกับลาว ไทยและเวียดนาม พิกัดทางภูมิศาสตร์โดยประมาณคือ11°N 104°E11°N 104°E แนวชายแดนมีความยาวทั้งหมด 2,572 กิโลเมตร โดยติดกับเวียดนาม 1,228 กิโลเมตร ไทย 803 กิโลเมตร และลาว 541 กิโลเมตร เป็นแนวชายฝั่ง 443 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,040 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ ใจกลางของประเทศเป็นทะเลาสาบเขมร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือไปใต้ ลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตมรสุม แบ่งเป็น 2 ฤดูชัดเจนคือฤดูฝนและฤดูแล้ง อากาศค่อนข้างร้อนและมีความชื้นสูง พื้นที่ป่ามีประมาณสองในสามของประเทศแต่กำลังถูกทำลายทั้งโดยการตัดไม้และการเผาเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนที่ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะภูมิอากาศ | ภูมิอากาศในกัมพูชาเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเขตร้อนชื้น มีฤดูฝนและฤดูแล้ง ในฤดูฝนจะมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียพาฝนมาตก และในฤดูแล้งจะมีมรสุมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ที่นำอากาศแห้งแล้งมาให้ ลักษณะอากาศในทะเลสาบเขมรอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25- 28°C ในฤดูร้อนอาจสูงถึง 38 °C ได้ ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร ฝนตกหนักมากทางตะวันออกเฉียงใต้และตามแนวเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ ค่าความชื้นเฉลี่ยทั้งปีค่อนข้างสูง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประชากร | 14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบอบการปกครอง |
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแบ่งเขตการปกครอง |
ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 จังหวัด (เขต) และ 1 เทศบาลนคร (กรุง)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ |
ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่นๆ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้ สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์ เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การคมนาคม |
สนามบินในขณะนี้กัมพูชามีเที่ยวบินภายในประเทศจากพนมเปญไปยังสนามบิน 7 แห่งในเมืองหลักต่างๆ ได้แก่ เสียมเรียบ พระตะบอง สตึงแตรง รัตนคีรี มณฑลคีรี เกาะกง และสีหนุวิลล์ การเดินทางสู่เมืองเสียมเรียบเพื่อเยี่ยมชมนครวัดนั้น แนะนำให้เดินทางโดยเครื่องบิน แม้ว่าจะสามารถเดินทางโดยเรือได้ก็ตาม สายการบินในประเทศ 3 สายการบิน ได้แก่ Royal Air Cambodge, President Airlines และ Phnom Penh Airways ผู้เดินทางควรเช็คอินหนึ่งชั่วโมงก่อนเวลาเดินทาง สนามบินนานาชาติของกัมพูชามีอยู่ 2 แห่ง คือ สนามบินโปเชนตง ในพนมเปญ และ สนามบินเสียมเรียบ (เพื่อไปสู่นครวัด) มีสายการบินที่บินตรงสู่พนมเปญจากกรุงเทพฯ โฮจิมินห์ซิตี้ กวางโจว (2 เที่ยวต่ออาทิตย์) ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ และเวียงจันทร์ สายการบินที่ให้การบริการสู่พนมเปญ คือ สายการบินไทย Royal Air Cambodge, Lao Aviation, Vietnam Airlines, Dragon air, Malaysian Airlines และ Silk Air นอกจากนี้ ยังมีสายการบินที่บินตรงสู่เสียมเรียบจากกรุงเทพฯ ภูเก็ต และโฮจิมินห์ซิตี้ อีกด้วย ผู้เดินทางจะต้องเตรียมเงิน 20 เหรียญสหรัฐฯ ไว้เพื่อจ่ายค่าภาษีขาออกสำหรับทุกเที่ยวบินที่เดินทางออกจากกัมพูชา ที่สนามบินโปเชนตงมีสถานที่อำนวยความสะดวกอยู่ไม่กี่แห่ง ทั้งนี้ รวมถึงเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตรา เคาน์เตอร์จองโรงแรม และร้านค้าต่างๆ ด้านนอกทางประตูขาเข้าสู่สนามบินจะมีเคาน์เตอร์ให้การบริการแท๊กซี่เข้าสู่ในเมืองด้วยอัตราคงที่ที่ 7 เหรียญสหรัฐฯ สนามบินโปเชนตงตั้งอยู่ห่างจากในเมือง 12 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินสู่ในเมืองด้วยการจราจรปกติประมาณ 20-30 นาที การเดินทางภาคพื้นดิน การเดินทางโดยแท็กซี่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในปัจจุบัน ผู้เดินทางสามารถหาแท็กซี่ได้ตามโรงแรมใหญ่ต่างๆ หรือจองผ่านทางโทรศัพท์ได้ แท็กซี่ในกัมพูชาโดยมากจะไม่ใช้มิเตอร์ คนขับมักจะคิดราคาในการเดินทางรอบๆ เมืองประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเที่ยว หากผู้เดินทางต้องการเดินทางออกนอกเมือง ท่านสามารถจ้างแท็กซี่แบบเต็มวันหรือครึ่งวันด้วยราคาที่ต่อรองได้ ในกรุงพนมเปญไม่มีระบบโดยสารสาธารณะให้บริการ คนท้องถิ่นและชาวต่างชาติมักจะเดินทางโดยสามล้อถีบรับจ้างหรือรถจักรยนต์รับจ้างที่มีการต่อรองค่าจ้างก่อนการโดยสาร โดยมากจะประมาณ 2000 รีลต่อ 10 นาที และเพื่อความปลอดภัย ผู้เดินทางไม่ควรใช้บริการในตอนกลางคืน เนื่องจากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเดินทางโดยรถไฟ รสบัส แท็กซี่ เรือ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินนอกกรุงพนมเปญมีระดับความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป ในอดีตเคยมีการโจมตีจากโจรในรถไฟที่ให้บริการจากพนมเปญไปยังพระตะบองและกำปอด |
ตราแผ่นดิน
ตราแผ่นดินของกัมพูชา เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ซึ่งประคองโดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และราชสีห์ทางด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជា" ("พระเจ้ากรุงกัมพูชา") ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล
ธงชาติและเพลงชาติ
ธงชาติกัมพูชา (เขมร: ទង់ជាតិកម្ពុជា; ทง่ชาติกมฺพุชา; ต็วงเจียตกำปูเจีย) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: ជាតិ សាសនា ព្រះមហាក្សត្រชาติ สาสนา พฺระมหากฺสตฺร) โดยพื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์[1] ซึ่งก็เหมือนกับธงชาติไทย ที่สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนา และสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์นั่นเอง
เพลงชาติสาธารณรัฐเขมร (เขมร: ភ្លេងជាតិដំណើរសាធារណរដ្ឋខ្មែរเภฺลงชาติฎํเณิรสาธารณรฎฺฐแขฺมร) เป็นเพลงชาติของประเทศกัมพูชาที่ใช้อยู่ในสมัยปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ ในชื่อ "สาธารณรัฐเขมร" ภายใต้การนำของพลเอกลอน นอล ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2518 เพลงนี้ประพันธ์โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ ในสมัยที่ท่าน ฮาง ทุน ฮัก (หงฺส-ธุนหาก่) เป็นอธิการบดี
เนื้อร้อง
อักษรเขมร | ปริวรรตเป็นอักษรไทย | คำแปล |
---|---|---|
ជនជាតិខ្មែរលបីពូកែមួយក្នងលោក |
ชนชาติแขฺมรลบีพูแกมัวยกฺนงโลก |
ชนชาติเขมรลือชื่อเก่งที่หนึ่งในโลก |
ខ្មែរក្រោកឡើង |
แขฺมรโกฺรกเฬิง |
เขมรลุกขึ้น |
ខ្មាំងលុកចូល |
ขฺมำงลุกจูล |
ศัตรูบุกรุกเข้า
|
อาหารประจำชาติ
อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่างๆ อาหารหลักสำหรับชาวกัมพูชาเป็นข้าว ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น ทุเรียน
อาหารเขมรมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่ากะหรี่ (เขมร: ការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน
ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง
กีฬาประจำชาติ
Pradal Serey คืออะไร Pradal Serey เป็นศิลปะการป้องกันตัวของประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นของครอบครัวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิกบ็อกซิ่ง ในแง่นี้ Pradal Serey จะคล้ายกับมวยไทยเพราะทั้งสองของพวกเขาภายในชนิดเดียวกันของศิลปะการต่อสู้ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียนี้ แต่ยังรวมถึงรูปแบบอื่น ๆ ในประเทศที่แตกต่างกันเช่นการดังต่อไป:
Muay Thai in Thailand. มวยไทยในประเทศไทย
Tomoi in Malaysia. Tomoi ในประเทศมาเลเซีย
Lao Boxing in Laos. ลาวมวยในประเทศลาว
Lethwei in Myanmar. Lethwei ในพม่า
มันอาจเป็นไปได้ว่า Pradal Serey เก่ากว่ามวยไทยเนื่องจากกัมพูชาเป็น “กรีซ” ของคาบสมุทรอินโดจีนและอีกหลายประเทศ ในวัดอังกอร์ที่มีหลักฐานของการดำรงอยู่ของมันในฐานะที่เป็นอาณาจักรเขมรเป็นส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอินโดจีนมันเป็นตรรกะของรัฐที่มีบรรพบุรุษจากคิกบ็อกซิ่งมีคนเขมรเป็นฝ่ายกัมพูชาได้รับอิทธิพลการพัฒนาของไทยลาวพม่าและวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม ด้วยเหตุนี้คนจำนวนมากในปัจจุบันกัมพูชาพิจารณาว่ามันเป็น Pradal Serey ศิลปะการป้องกันตัวที่ถูกต้องของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่ามันจะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน
ในระหว่างการประชุมสุดยอด 1995 ของอาเซียน, สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้องค์การสหประชาชาติ, กัมพูชาเสนอให้รวมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิกบ็อกซิ่งภายใต้ชื่อSovanna ภูมิ (Golden Land), คำที่ทำมาจากภาษาบาลี, ภาษาของบรรพบุรุษที่เป็นที่รากของที่สุดของ เซาท์อีสท์เอเชียเช่นภาษาเขมรและไทย . แต่ประเทศไทยคัดค้านว่าแต่ละประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสไตล์คิกบ็อกซิ่งของตัวเองและว่าประเทศไทยทำคิกบ็อกซิ่ง ประท้วงกัมพูชาไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันระหว่างประเทศใด ๆ
ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ
ระบำอัปสรา (Apsara Dance)
เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการแต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด
เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk)
เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ และการแสดงขบวนเรือประดับไฟ
เครื่องแต่งกายประจำชาติ
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง
สกุลเงิน
เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา 127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 เรียล 100 เรียล 200 เรียล 500 เรียล 1,000 เรียล 2,000 เรียล 5,000 เรียล 10,000 เรียล 20,000 เรียล 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกลำดวน (Rumdul)ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วย
บุคคลสำคัญ
สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุนเซน (Somdech Akka Moha Sena)
เริ่มเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่อายุ 33 ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดของกัมพูชา และดำรงตำแหน่งมาหลายสมัยจนถึงปัจจุบัน
สมเด็จพระนโรดมสีหนุ หรือ เจ้าสีหนุ (Norodom Sihanouk)
อดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชา และเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่หลายสมัยก่อนจะสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดมสีหมุนี ซึ่งกินเนสส์บุ๊กบันทึกว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากที่สุดในโลก
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมพ.ศ. 2496 พระราชบุตรลำดับที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อันประสูติแต่สมเด็จพระอัคคมเหสีนโรดม มุนีนาถ สีหนุ (พระนามเดิม ปอล โมนีก อิซซี) ซึ่งมีเชื้อสายฝรั่งเศส, คอร์ซิกัน และอิตาลี มีพระพี่น้องร่วมพระชนก 14 พระองค์ ร่วมมารดาหนึ่งพระองค์ คือ สมเด็จพระนโรดม นรินทรพงษ์ (พ.ศ. 2497 - 2546)
ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศกัมพูชา,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mcamlodia