ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ข้อมูลทั่วไป
ประเทศเวียดนาม | ประเทศเวียดนาม (เวียดนาม: Việt Nam) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีนมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ยทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนาม: Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
|
||||||||
ชื่อเป็นทางการ | สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) | ||||||||
ชื่อเมืองหลวง | ฮานอย (Hanoi) | ||||||||
วันชาติ |
30 เมษายน |
||||||||
วันเข้าร่วมอาเซียน | 28 กรกฎาคม 2538 | ||||||||
ภาษาประจำชาติ | ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) | ||||||||
ภาษาราชการ | ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) | ||||||||
ศาสนาประจำชาติ | ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม | ||||||||
สกุลเงิน | ด่อง (Dong : VND) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 461 ด่อง/ 1 บาท (มกราคม 2550) | ||||||||
ลักษณะภูมิศาสตร์ |
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 |
||||||||
ภูมิประเทศ | |||||||||
แผนที่ |
|
||||||||
ลักษณะภูมิอากาศ |
|
||||||||
ประชากร | มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวเวียดร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่ายไทเหมื่อง ฮั้ว (จีน) เขมรนุงม้ง | ||||||||
ระบอบการปกครอง |
1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่ 1.) กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย 2.) กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ 3.) กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก 2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี 3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ 1.) รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม 2.) เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา 3.) การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม) 4.) การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ 5.) เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน 4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง |
||||||||
การแบ่งเขตการปกครอง |
ประเทศเวียดนามแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 58 จังหวัด (tỉnh) และ 5 เทศบาลนคร (thủ đô) ดังนี้
|
||||||||
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ |
มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน)การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991 |
||||||||
การคมนาคม |
เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานโหน่ยบ่าย (Noi Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานลองถั่ญ (Long Thanh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนามและท่าอากาศยานดานัง (Danang) ในนครดานัง |
ตราแผ่นดิน
ตราแผ่นดินของเวียดนามเวียดนาม: QUỐC HUY NƯỚC CỘNG HOÀ XÃ HỘI CHỦ NGHĨA VIỆT NAM มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าวหมายถึงความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมันตะวันออกและตราแผ่นดินของจีน ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นตราแผ่นดินของเวียดนามเหนือเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เมื่อรวมชาติกับเวียดนามใต้แล้ว จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
ธงชาติและเพลงชาติ
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้
ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม[1]
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน
ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย
หมายเหตุ: เนื้อร้องที่ถ่ายเสียงเป็นภาษาไทยนี้เป็นภาษาเวียดนามสำเนียงฮานอย ซึ่งตัว D Gi R จะออกเสียงเป็น ส,ซ และ Tr จะออกเสียงเป็น จ
ภาษาเวียดนาม | ถ่ายเสียงด้วยอักษรไทย | คำแปล |
Đoàn quân Việt Nam đi Đoàn quân Việt Nam đi |
ดว่าน เกวิน เหวียต นาม ดี ดว่าน เกวิน เหวียตนาม ดี |
ทหารเวียดนามทั้งหลาย รุกไปข้างหน้า ! ทหารเวียดนามทั้งหลาย รุกไปข้างหน้า! |
อาหารประจำชาติ
เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls) ถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย
กีฬาประจำชาติ
โววีนัม (Vovinam) คือชื่อของกีฬาศิลปะป้องกันตัวของประเทศเวียดนาม ซึ่ง Wikipedia ได้อธิบายความหมายตรงตัวว่า Vo หมายถึง ศิลปะป้องกันตัว ส่วน Vinam หมายถึงเวียดนาม อันเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ได้มีการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1938 โดย มาสเตอร์ เหวง ลอค ผู้คิดค้นศาสตร์ชนิดนี้ขึ้นมาภายใต้ความกดดันจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มายาวนานกว่าร้อยปี เขาจึงคิดว่าในการสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ จะต้องส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง รู้จักเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และดูแลตัวเองให้สมดุล คือ ทั้งอ่อนและแข็งผสมกันคล้ายกับความเชื่อเรื่องยิน-หยาง จากนั้นศิลปะป้องกันตัวอันเกิดจากการศึกษาทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ สุขภาพ ศาสนาและปรัชญาของมาสเตอร์เหวง ลอค ก็ผสมผสานกันจนกลายมาเป็นโววีนัม และได้แพร่หลายไปทั่วโลกเริ่มจากฝรั่งเศส เยอรมนี และอีกหลายประเทศในยุโรป ไปจนถึงอเมริกา ออสเตรเลีย ที่ต่างก็มีสมาคมโววีนัมของตัวเอง และล่าสุดกีฬาชนิดนี้ก็ยังจะได้รับการบรรจุเป็นครั้งแรกในการแข่งขันอาเซียน อินเดอร์เกมส์ที่เวียดนามในปี 2009 ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักกีฬา เพื่อเข้าแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้ กีฬาชนิดนี้มีความน่าสนใจตรงที่มันเป็นการผสมผสานกันของกีฬาหลากหลายชนิด มีความใกล้เคียงทั้งเทควันโด มวยไทย มวยจีน แล้วยังมีคนบอกว่าคล้ายกับวูซู เพราะมีการรำดาบ ทวน กระบอง หรือการใช้ร่มเพื่อเป็นการป้องกันตัวสำหรับผู้หญิง” ปราโมทย์ สุขสถิตย์ วัย 30 ปี อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติ ผู้ผันตัวเองมาบุกเบิกกีฬาชนิดนี้ บอกถึงที่มาและความแตกต่างของโววีนัม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะการป้องกันตัวอันหลากหลายในแถบเอเชีย
ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ
วัฒนธรรมพื้นบ้าน
สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน
ศิลปพื้นบ้าน
ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม
เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)”
โดยปกติแล้ว ชาวเวียตนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทสกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์
ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง ในประเทศเวียดนาม
พิธีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงเป็นกิจกรรมความเชื่อแบบโบราณแต่แฝงไว้ด้วยคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนามซึ่งการเข้าทรงได้รับการถือเป็นศิลปะการแสดงที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะมีทั้งการเล่นดนตรี การร้องเพลงและฟ้อนรำ แม้จะผ่านกาลเวลามานานแสนนานแต่ประเพณีนี้ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและโดยคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้ การบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงของประชาชนเวียดนามกำลังได้รับการยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก้ ขอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรม
การบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีที่มีมาแต่เดิมนานในเวียดนามโดยเริ่มมาจากการบูชาบรรดาเทพธิดาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งบรรดาเทพธิดานั้นเป็นตัวแทนของธรรมชาติ เช่น เจ้าแม่ธรณี เจ้าแม่คงคา เจ้าแม่โพสพ เป็นต้น ต่อมาภายหลังประชาชนได้มีการเชิดชูบูชาบรรดาวีรสตรีของชาติ เช่น บรรดาเจ้าหญิง พระมเหสีหรือผู้ให้กำเหนิดอาชีพของหมู่บ้านเป็นเจ้าแม่โดยถือว่า เป็นทั้งเทพธิดาที่มีอำนาจลึกลับศักสิทธิ์และเป็นทั้งบุพการีที่มีใจการุญคอยให้ความคุ้มครองอย่างใกล้ชิดในชีวิตแห่งจิตวัญญาณของประชาชน ศ.ดร. NgoDucThinh อดีตหัวหน้าสถาบันศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนามเผยว่า"การบูชาเจ้าแม่ก็คือการบูชาบุพการีที่ถือเป็นเทพธิดาซึ่งเป็นเทพเจ้าในความเชื่อของมนุษย์ นั่นคือผู้ที่สร้างอวกาศ ดูแลอวกาศ คอยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์และบันดาลประโยชน์สุขพื้นฐาน 3 ประการให้แก่มนุษย์คือ สุขภาพ เงินทองและโชคลาป การบูชาเจ้าแม่เน้นในความสนใจต่อมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยเหตุฉนั้นจึงดูเหมือนว่า สังคมยิ่งทันสมัย การบูชาเจ้าแม่ก็ยิ่งพัฒนาเพราะใครๆก็ต้องการสุขภาพ เงินทองและยศถาบรรดาศักดิ์กันทั้งนั้น”
ตามความเชื่อของมนุษย์ อวกาศแบ่งเป็น 3 ภาคหรือ 4 ภาค แต่ละภาคมีสัญลักษณ์เป็นสีแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคฟ้าเป็นสีแดง ภาคดินเป็นสีเหลือง ภาคน้ำเป็นสีขาวและภาคป่าเป็นสีเขียวโดยเจ้าแม่ได้กลายร่างเป็นเทพเจ้าดูแลแต่ละภาค ฉนั้นชาวเวียดจึงถือเจ้าแม่เป็นตัวแทนที่อมตะแห่งจิตวิญญาณของตนซึ่งหนึ่งในพิธีสำคัญในการบูชาเจ้าแม่คือ พิธีเข้าทรงเป็นพิธีที่มีการเล่นดนตรี ร้องเพลงและฟ้อนรำด้วย เพลงที่ร้องในพิธีเข้าทรงของชาวเวียดคือ เพลง ChauVan พิธีเข้าทรงมักจะจัดขึ้นที่วัดในบรรยากาศที่เงียบสงบ การเตรียมงานทำพิธีเข้าทรงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยมีถาดเครื่องเซ่นไหว้ที่จัดแจงอย่างสวยงาม มีแสงเทียนริบหรี่สร้างบรรยากาศแห่งความลึกลับของเวทีเข้าทรง ลักษณะการเข้าทรงก็คือการกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่วัญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาเข้าทรงเพื่อประทานพรให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรง มีโชคลาป ผู้ที่เป็นร่างทรงจะมีกริยาท่าทางและเสียงพูดคล้ายผู้มาเข้าทรง นาง Lien ศีลปินผู้สูงอายุและเคยเข้าร่วมพิธีเข้าทรงกล่าวว่า“ดิฉันเป็นศีลปินในคณะนาฏศิลป์แห่งชาติ เคยสวมบทบาทแสดงมามากมายหลายรูปแบบ แต่เมื่อมาร่วมพิธีเข้าทรงครั้งนี้ มีความรู้สึกว่า ผู้เป็นร่างทรงแสดงบทบาทของแต่ละบุคคลได้ดีเหมือนศีลปินในบทละคร ไม่ว่าจะเป็นบทนักรบต่อสู้กับศัตรูหรือบทอื่นๆ”
โดยผ่านร่างทรงของเทพเจ้าในประวัติศาสตร์ บรรดาบรรพบุรุษที่มีคุณความดีต่อชาติบ้านเมืองได้รับการเคารพบูชาซึ่งนักศึกษาวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศล้วนมีความเห็นเดียวกันว่า ความเชื่อในการบูชาเจ้าแม่และพิธีเข้าทรงนั้นมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ดีงามของเวียดนามและมีเงื่อนไขอย่างสมบูรณ์ในการยื่นขอรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกจากองค์การยูเนสโก้
เครื่องแต่งกายประจำชาติ
สกุลเงิน
ด่ง (Dong) เป็นสกุลเงินของประเทศเวียดนาม 652 ด่ง เท่ากับประมาณ 1 บาทไทย
The Vietnamese Dong (VND) is the official currency of Vietnam. 652 Vietnamese Dong = 1 Thai Baht
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกบัว (Lotus) ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง
บุคคลสำคัญ
โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh)
นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม เป็นผู้นำการต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสและเรียกร้องเอกราชให้กับประเทศเวียดนามนอกจากนี้ยังเป็นผู้รวมเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และหลังจากที่สิ้นสุดสงครามเวียดนามก็มีการเปลี่ยนชื่อ ไซ่ง่อน (Saigon) เป็น โฮจิมินห์ซิตี (Ho Chi Minh City) เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์
นายพล หวอ เหวียนยาบ (Vo Nguyen Giap)
นักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ของกองทัพเวียดนามและของโลก เป็นผู้บัญชาการรบในสงครามและเป็นมือขวาคนสำคัญของโฮจิมินห์
ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเวียดนาม,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mvietnam