ประเทศฟิลิปปินส์ (Philipines)

ข้อมูลทั่วไป

 ประเทศฟิลิปปินส์

        ฟิลิปปินส์ (อังกฤษPhilippinesฟิลิปีโนPilipinas) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (อังกฤษRepublic of the PhilippinesฟิลิปีโนRepublika ng Pilipinas) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน(พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์เป็น          

         หนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์


ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ - Republic of the Philippines : Republika ng Pilipinas
ชื่อเมืองหลวง กรุงมะนิลา  (Manila)
วันชาติ 12 มิถุนายน
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 
ภาษาประจำชาติ ฟิลิปิโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษราชการ
ศาสนาประจำชาติ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลกศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์)

ร้อยละ 92.5 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์

สกุลเงิน เปโซ (๔๘.๖๔ เปโซ ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ ? มีนาคม ๒๕๕๐)
ลักษณะภูมิศาสตร์

    

โครงสร้างของหมู่เกาะฟิลิปปินส์  อยู่ในแนวโค้งของเทือกภูเขายุคใหม่  ภายในเกาะต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นภูเขาที่สูงขรุขระมีระดับความสูง ประมาณ  1,200  2,400  เมตร  โครงสร้างของหินภายในยังไม่มั่นคงเกิดแผ่นดินไหวอยู่เสมอ  ภูเขาไฟที่สูงสุดชื่อ  เอโป  (Apo)  สูงถึง  2,907  เมตร (9,690  ฟุต)  อยู่ในเกาะมินดานา

                ลักษณะภูมิประเทศของเกาะที่สำคัญในฟิลิปปินส์  มีดังนี้

                เกาะลูซอน  (Luzon)  เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์อยู่ตอนเหนือของประเทศ  มีที่ราบกว้างอยู่  2  บริเวณ  ดังนี้

                1)  ตอนเหนือ  ได้แก่  ที่ราบลุ่มแม้นำดากายัน  (Cagaynn)

                2)  ตอนกลาง  ได้แก่  ที่ราบมะนิลา  (Manila  Plain)  เป็นที่ราบใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองมะนิลา

                เกาะมินดาเนา  (Mindanao)  เป็นเกาะใหญ่รองจากเกาะลูซอนอยู่ทางใต้ของประเทศมีที่ราบกว้าง อยู่  2  บริเวณ  ดังนี้

                1)  ที่ราบลุ่มน้ำอกูซาน  (Agusan)  อยู่ตอนเหนือของเกาะค่อนไปทางตะวันออก  ปากแม่น้ำไหลออกที่ทะเลมินดาเนา

                2)  ที่ราบลุ่มแม่น้ำมินดาเนา  (Minda-nao)  อยู่ทางตอนใต้  ค่อนมาทางตะวันตก ปากแม่น้ำไหลออกที่อ่าวโคตาบาโด

                หมู่เกาะวิสายัน  (Visayan  Group)  อยู่ระหว่างเกาะลูซอกับเกาะมินดาเนา  ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ  คือ  เกาะเนกรอส  (Negros)  ปาไน (Panay)  เลเต  (Leyte)  เซบู (Cebu)  โบโฮล(Bohol)  มินโดโร (Mindoro)  ซามาร์  (Samar)  มาสบาเต (Masbate)  ตามเกาะเหล่านี้มีที่ราบแคบๆ  อยู่ชายฝั่งทะเลทั่วไป

                เกาะปาลาวัน  (Palawan)  อยู่ระหว่างทะเลจีนใต้กับทะเลซูลูทางตะวันตกเฉียงใต้  ฟิลิปปินส์มีที่ราบแคบ ๆ  ชายฝั่ง

                หมู่เกาะซูลู  (Sulu  Archelago)  อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา  ตอนเหนือทะเลเซลีเบส  มีที่ราบแคบ ๆ  ชายฝั่งเช่นเดียวกัน

                เกาะบาซิลัน (Basilan)  เป็นเกาะเล็ก ๆ  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนาใกล้ปากอ่าวโคตาบาโตมีที่ราบแคบ ๆ  ริมฝั่งทะเล

ภูมิประเทศ

     เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด

แผนที่
ลักษณะภูมิอากาศ

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นเช่นเดียวกับประเทศไทย  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง  2  ฤดูกาล  อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง  24 - 29 ซ.  เพราะได้รับอิทธิพลจากทะเลมาก

          ชายฝั่งด้านตะวันออกจะได้ปริมาณน้ำฝนมากในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  (ฤดูหนาว) ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนลดน้อยลงไม่มีฤดูแล้ง
          ชายฝั่งด้านตะวันตกจะได้รับปริมาณน้ำฝนสูงในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  (ฤดูร้อน)  ส่วนฤดูหนาว  (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)  มากค่อนข้างแห้งแล้งมีฝนน้อย
          ที่เกาะมินดาเนามีปริมาณน้ำฝนสูงตลอดปีเพราะอยู่ใกล้ศูนย์สูตรไม่มีฤดูแล้ง
          สำหรับเกาะที่อยู่ภายใน  เช่น  เซบู  มาสบาเต  จะมีฝนน้อย
          ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,500  มิลลิเมตร  (60  นิ้ว)  ในที่สูงจะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า  2,500  มิลลิเมตร  (100  นิ้ว)

          เนื่องจากฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ใกล้แหล่งศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ และด้านตะวันออกอยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก มักได้รับความกระทบกระเทือนจากพายุไต้ฝุ่น  (Typhoons)  บ่อยครั้ง  โดยเฉพาะในช่วงระยะเดือนกรกฎคม  กันยายน  และช่วงเปลี่ยนมรสุมแนวพายุนี้อยู่ละติจูด  11 เหนือขึ้นไป  เช่นที่เกาะลูซอนด้านตะวันออก  พายุที่พัดกระหน่ำฟิลิปปินส์รุนแรงมากเพราระพัดผ่านมหาสมุทรปราศจากสิ่งกีดขวาง               

          พืชพรรณธรรมชาติของฟิลิปปินส์ เป็นป่าไม้ร้อยละ  53  มีป่าดงดิบตามที่ลุ่มและเชิงเขา  ส่วนป่าไม้ผลัดใบขึ้นตามลาดเขา และภูเขา  ป่าไม้สนขึ้นตามยอดเขาในเกาะลูซอน  ซึ่งอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง 

ประชากร ๘๘.๗ ล้านคน (๒๕๕๐)
ระบอบการปกครอง      ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่าย บริหาร (วาระ ๖ ปี) เลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ซึ่งอนุญาตให้เลือกตั้งในต่างประเทศได้ เป็นครั้งแรก สถานะวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
การแบ่งเขตการปกครอง

     ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด

     ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง

        หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง

 

เขต (regions) 

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ                       การเพาะปลูก  มีการเพาะปลูกตามที่ราบสำคัญ  และที่ราบแคบ ๆ  ชายฝั่งทะเลมีเนื้อที่ประมาณ  1  ใน  4  ของประเทศ  พืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า  ข้าวโพด  มันเทศ  ผักผลไม้  ส่วนพืชที่ปลูกเพื่อการค้า  ได้แก่  มะพร้าว  อ้อย  สับปะรด  ยาสูบ  ป่านอบากา  หรือป่ามะนิลาสำหรับมะพร้าว เป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของประเทศ

                ประชากร  3  ใน  4  มีอาชีพทำการเพาะปลูก  ทั้ง ๆ  ที่พื้นที่สำหรับเพาะปลูกมีเพียงร้อยละ  15-27  เท่านั้น

                มะพร้าว  เป็นสินค้าส่งออกอันดับ  1  ทำรายได้  ประมาณร้อยละ  20  ของมูลค้าสินค้าออกทั้งหมดมีปลูกทั่วไปตามเกาะต่าง ๆ  มีทั้งปลูกในไร่ขนาดใหญ่  และในที่ดินแปลงเล็ก ๆ  แม้แต่ตามลาดเขามีการปรับพื้นที่เป็นแบบขั้นบันไดเพื่อปลูกมะพร้าว

                อ้อย  ปลูกเพื่อการค้าเป็นแบบไร่ขนาดใหญ่  ส่วนมากอยู่ที่เกาะเนกรอส  ภาคกลางของประเทศผลิตน้ำตาลได้ร้อยละ  70  ของที่ผลิตได้ในฟิลิปปินส์  และส่งไปขายสหรัฐอเมริกา

                ข้าว  มีการทำนาขั้นบันไดของชาวเขาในภาคเหนือของเกาะลูซอน  ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเผ่า  อิฟูกัว  (Ifuguo)  เป็นเผ่าทีรู้ทำนาแบบขั้นบันไดมากกว่า  4,000 ปีมาแล้ว  ปัจจุบันยังมีอยู่ที่เมืองบานาเว (Banawe)  คลุมพื้นที่กว่า  250  ตารางกิโลเมตร  นับว่าเป็นนาขั้นบันไดที่เก่าก่าที่สุดของโลก

                แหล่งปลูกข้าวสำคัญอยู่ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอที่ภาคใต้ของเกาะลูซอน  เป็นที่ตั้งขงอสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ  (International Rice  Resrarch  Institute)  ตั้งชขึ้นตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2505  ได้ทำการวิจัยข้าวพันธุ์ไออาร์  8  (IR 8)  และไออาร์  22  (IR  22)  ที่ให้ผลผลิตส่งประเทศไทยยังได้ใช้พันธุ์ข้าวไออาร์  8  มาผสมพันธุ์ข้าวไทยพื้นเมือง  กลายเป็นพันธุ์  กข.  1  และ กข.  3  มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิมเสียอีก  สถาบันวิจัยพันธุ์ข้าวระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่เมืองลอสบานอส  (Los  Banos)

                ป่านอบากา  ปลูกมากในภาคตะวันออกของเกาะลูซอน  และเกาะมินดาเนา  ต้นป่ามีลักษณะคล้ายต้นกล้วย  เป็นพืชพวกตระกูลถั่วไม่มีผลใช้บริโภคได้  เมื่อลำต้นโตตัดมาลอกกาบออก  และขูดให้เหลือเส้นใยนับว่าเหนียวมาก  ใช้ทำเชือก  สานเป็นพรม  กระเป๋าและที่รองจาน  ป่านอบากาชอบความชื้นสูง  ปริมาณน้ำฝนสม่ำสมอตลอดปี

                การเลี้ยงสัตว์  นับว่าเลี้ยงทันสมัยมาก  ได้แก่  โค  กระบือ  ม้า  สุกร  แพะ  แกะ  และสัตว์ปีก  เช่น   ไก่  เป็ด  มีแนวโน้มผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหาร

                การประมง  มีการจับปลาน้ำจืดและน้ำเค็มนำมาทำปลาเค็มและปลาตาแห้ง

                การทำป่าไม้  มีไม้เนื้อแข็ง เช่น  ไม่มะฮอกกานี  พื้นที่ป่าไม้เนื้อแข็งที่ผลิตส่งเป็นสินค้าออามีร้อยละ  40  ของพื้นที่ทั้งหมดส่วนมากอยู่ในเกาะมินดาเนา  เนกรอส  มินโดโร  ซามาร์

                การอุตสาหกรรม  ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ  เช่น  โรงเลื่อย  โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ  โรงงานกระดาษ  โรงงานปูนซิเมนต์  โรงานกลั่นน้ำมัน  เครื่องปั้นดินเผา  และอาหารกระป๋อง

                การทำเหมืองแร่  แร่ที่สำคัญ  ได้แก่  ทองคำ  ทองแดง  โครไมต์  แร่เชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน  และถ่านหินมีน้อยต้องใช้พลังงานทดแทน

                ทองแดง  พบที่เกาะลูซอน  ตอนเหนือมะนิลา  และทางตจะวันตกของเกาะเนกรอส

                โครไมต์  นับว่ามีมากที่เทือกเขาภูเขาเซมเบล  (Zambales  Mountains)  ภาคตะวันตกของเกาะลูซอนมีร้อยละ  16  ของโลก

                เหล็ก  พบที่ภาคตะวันออกของเกาะลูซอน  และภาคตะวันตกของเกาะมินดาเนา

                ทองคำ  มีที่ภูเขาภาคเหนือของเกาะลูซอน

                ถ่านหิน  คุณภาพต่ำมีที่เกาะเซบุ

                ปิโตรเลียม  พบที่ทะเลซูลู

                การค้า  สินค้าออกที่สำคัญ  ได้แก่  เนื้อมะพร้าว  น้ำมันมะพร้าว  น้ำตาล  ผ้าพื้นเมือง  ไม้แกะสลัก  เครื่องเงิน  เครื่องประดับต่าง ๆ  ป่านมะนิลา  โครไมต์ส่วนใหญ่ส่งไปจำหน่ายให้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  เนเธอร์แลนด์  และเยอรมนี

                สินค้าเข้าที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องเหล็ก  เครื่องจัก  ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงและสิ่งทอ  นอกจากนี้มีอุปกรณ์การคมนาคมขนส่งที่สั่งจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

การคมนาคม

    

               สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  นิยมใช้เรือเพราะลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ  ภายในเกาะมีถนนติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ  มะนิลาเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางอุตสาหกรรม  ตัวเมืองอยู่ในอ่าวมะนิลา  เป็นท่าเรือสำคัญที่สุดของประเทศ

               ทางอากาศมีสายการบินทั้งภายในและภายนอประเทศติดต่อรับผู้โดยสารและสินค้า

ตราแผ่นดิน

File:Coat of Arms of the Philippines.svg

                ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกาและพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483

 

                คำที่อยู่ในผ้าแถบมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราช จากการได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2489 – 2515 จนถึงเฟอร์ดินาน มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึก ผ้าแถบมีคำว่า "REPUBLIC OF THE PHILIPPINES." จาก พ.ศ. 2522 จนถึงการสิ้นสุดอำนาจของมาร์กอสเมื่อ พ.ศ. 2529 ในผ้าแถบมีคำว่า "ISANG BANSA ISANG DIWA" (หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต) เมื่อมาร์กอสสิ้นสุดอำนาจลง ในผ้าแถบเปลี่ยนไปใช้คำว่า "REPUBLIKA NG PILIPINAS" ใน พ.ศ. 2541 รูปนกอินทรีและสิงโตถูกตัดออกไป แต่ตราที่ถูกดัดแปลงนี้ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย

ธงชาติและเพลงชาติ



อาหารประจำชาติ

  


       
อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา

 

กีฬาประจำชาติ

 

 

                    ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ กีฬาทำชื่อเสียงให้กับฟิลิปปินส์อื่นๆ ได้แก่ ชกมวย ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ นักมวยของฟิลิปปินส์ที่ทำชื่อเสียงในระดับนานาชาติมีเช่น Manny Pacquiao., แชมเปี้ยนบิลเลียด ได้แก่ Efren Reyes, แชมเปี้ยนหมากรุกได้แก่ Eugene Torre.สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลฟิลิปปินส์มีทีมอาชีพและมีการจัดการแข่งขันที่มีบริษัทและองค์กรสนับสนุนอย่างดีและมีผู้ชมหนาตา

 

ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ

 

วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

 

 

เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)

 

          จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)

 

 

เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)

 

             งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)

 

 

เทศกาลดินาญัง (Dinayang)

 

          งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

 

เครื่องแต่งกายประจำชาติ

 
                 ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)

สกุลเงิน

  

 



 

สกุลเงิน Philippine peso  เงินเปโซของฟิลิปปินส์ (PHP)   1 ดอลลาร์สหรัฐแลกได้ประมาณ 42.75 เปโซ่  0.7463 บาท = 1 เปโซฟิลิปปินส์

                  หน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงิน สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ ดอลล่าร์ฮ่องกง และดอลล่ารร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้ สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่น ประเทศปานามา และประเทศเอลซาวาดอร์ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สหรัฐสกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = บาท หรือ 100 เซนต์ = ดอลล่าร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป 

   

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน

 

   

บุคคลสำคัญ



โฮเซ รีซัล (Jose Rizal)

          เป็นนักเขียนและวีรบุรุษคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน เขาเสียชีวิตจากการตัดสินโทษประหาร ซึ่งส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้สำเร็จ


รามอน แมกไซไซ (Ramon del Fierro Magsaysay)

          อดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของฟิลิปปินส์ เป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช และอุทิศตนช่วยเหลือผู้ยากไร้ในประเทศเหล่าประชาชนจึงยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ และมีการจัดตั้ง “มูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซ Ramon Magsaysay Award Foundation” เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกียรติแก่นายรามอน ซึ่งต่อมาก็มีการมอบรางวัล “แมกไซไซ” ให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งรางวัลนี้ก็เปรียบได้กับรางวัลโนเบลแห่งเอเชีย


คอรีย์ อากีโน (Cory Aquino)

          ประธานาธิบดีคนที่ 11 ของฟิลิปปินส์หลังจากเป็นผู้นำประชาชนเดินขบวนประท้วงโค่นล้มอำนาจของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ที่สำคัญคือเธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของทวีปเอเชีย 

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศฟิลิปปินส์,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mphilippines