ประเทศอินโดนิเซีย (Indonesia)
ข้อมูลทั่วไป
ประเทศอินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์(อินโดนีเซีย: Timor) อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506 |
||
ชื่อเป็นทางการ | สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) | ||
ชื่อเมืองหลวง | จาการ์ตา (Jakarta) เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง
|
||
วันชาติ | 17 สิงหาคม | ||
วันเข้าร่วมอาเซียน | 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) | ||
ภาษาประจำชาติ | ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia | ||
ศาสนาประจำชาติ | ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ | ||
สกุลเงิน | รูเปียห์ (Rupiah) | ||
ลักษณะภูมิศาสตร์ |
อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
- อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทร อินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
|
||
ภูมิประเทศ |
ทิศเหนือ ติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออก ติดกับติมอร์ – เลสเต และปาปัวนิวกินี ทิศใต้ ติดกับทะเลติมอร์ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลกประมาณ 17,508 เกาะ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนคือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะมาลุกุ และอีเรียนจายา |
||
แผนที่ |
|
||
ลักษณะภูมิอากาศ | อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) | ||
ประชากร | ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา | ||
ระบอบการปกครอง |
อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีล เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย 1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว |
||
การแบ่งเขตการปกครอง | ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
|
||
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ |
ในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในตลาดโลก อินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ โกโก้ และเครื่องเทศ |
ตราแผ่นดิน
ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ดังบรรยายต่อไปนี้
ช่องซ้ายบนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน
ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึงลัทธิชาตินิยม
ช่องซ้ายล่างบรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม
- ช่องขวาล่างบรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุด
พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาว
โล่ขนาดเล็กที่อยู่กลางนั้นมีสีดำ บรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า
เบื้องล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่า ความว่า"Bhinneka Tunggal lka" แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"
เหตุที่เรียกชื่อตราพญาครุฑปัญจศีล เพราะในโล่กลางตรานี้ได้บรรจุสัญลักษณ์ของหลักการทางการเมือง 5 ข้อของอินโดนีเซีย (ปัญจศีล - ชื่อพ้องกับหลักปัญจศีลของพระพุทธศาสนา) ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปอนติอานัก (Sultan Hamid II of Pontianak) และได้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
ธงชาติและเพลงชาติ
ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (อินโดนีเซีย: Sang Merah Putih, สีแดง-ขาว)[1] เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น
ธงฉานอินโดนีเซียซึ่งธงผืนนี้ใช้โดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย จากภาพธงนี้ชักขึ้นที่เสาธงฉานหน้าหัวเรือรบ[2] ธงผืนนี้มีลักษณะเป็นธงลายแถบแดงและขาว9แถบ. ธงนี้มีชื่อว่า Ular-ular Perang (ธงผู้บังคับการเรือ หรือ litterally "ธงหางจระเข้"), มีลักษณะเป็นธงแถบสองแถบ ซึ่งความยาวของธงนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการประจำการของเรือลำนั้นๆ ธงฉานอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดจากอาณาจักรมัชปาหิต โดยธงใช้เป็นธงเรืออันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมัชปาหิต, ปัจจุบันนี้ใช้เป็นธงฉาน ชักขึ้นที่หน้าหัวเรือรบ
อินโดเนเซีย รายา (อินโดนีเซีย: สะกดอย่างเก่า: "Indonesia Raja"; สะกดอย่างปัจจุบัน: "Indonesia Raya", แปลว่า อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่) เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประพันธ์โดย วาเก รูดอล์ฟ ซูปราตมัน ซึ่งได้นำเสนอครั้งแรกในงานสันนิบาตยุวชนแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) เพื่อใช้เป็นเพลงประจำพรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เพลงนี้จึงได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติอินโดนีเซียสืบมาจนถึงทุกวันนี้
ภายหลังคีตกวีชื่อ โจเซฟ เคลเบอร์ ได้เรียบเรียงดนตรีเพลงนี้ใหม่ สำหรับใช้บรรเลงด้วยวงดนตรีฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตรา เมื่อ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950)
เนื้อร้อง
เฉพาะเนื้อร้องในบทแรกเท่านั้น ที่บังคับใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับราชการ ตามกฎหมาย Peraturan Pemerintah No.44 Tahun 1958
อินโดเนเซีย รายา | |
---|---|
ภาษาอินโดนีเซีย | คำแปล |
บทที่1 (เนื้อร้องที่บังคับใช้เป็นเพลงชาติฉบับราชการ) | |
บทที่ 1 Hiduplah tanahku, (* ประสานเสียง) |
บทที่ 1 แผ่นดินของข้า จงเจริญ |
บทที่2 | |
Indonesia tanah yang mulia, Suburlah tanahnya,
|
อินโดนีเซีย ประเทศอันสง่า ขอแผ่นดินเจ้าจงอุดม
|
บทที่3 | |
Indonesia, tanah yang suci, S'lamatlah Rakyatnya,
|
อินโดนีเซีย ประเทศอันศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ชนของเจ้าจงปลอดภัย
|
อาหารประจำชาติ
กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง
กีฬาประจำชาติ
ตารุง เดราจัต (กีฬาต่อสู้) ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซียปลายปีนี้ เจ้าภาพได้บรรจุ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวชวาตะวันตก เป็นกีฬาสาธิต แม้กีฬาชนิดนี้จะยังไม่คุ้นหูของคนไทย แต่สำหรับชาวอินโดเซียแล้ว นี่คือกีฬาระดับชาติที่ใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของร่ายกายและจิตใจ เตะ… หมัด… ถีบ… คือการออกอาวุธหลัก 3 อย่าง ของ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว ที่คนอินโดนีเซียทุกเพศทุกวัยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีนายอัชหมัด เดดจัต หรือคนที่นี่เรียกว่า “ซาง กูรู” เป็นผู้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 40 ปีก่อนเนื่องจากในวัยหนุ่มเค้ามักจะถูกเพื่อนๆ รุมแกและทำร้าย จึงพยายามฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง พร้อมๆ ไปกับการนำเอาจุดเด่นของศิลปะการต่อสู้หลากหลายแขนง มาประยุกต์เข้าด้วยกัน จนกลายแบบฉบับของตัวเอง โดยตั้งชื่อว่า “ตารุง เดราจัต” ต่อมาไม่ ว่าจะซางกูรูในวัยหนุ่มจะถูกรุมแตะ ต่อย หรือทำร้ายด้วยของแข็ง เค้าก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้เสมอ เพราะตารุง เดราจัต ไม่ได้ใช้พละกำลังด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังต้องรวบรวมสมาธิและความแข็งแกร่งด้านจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับร่างกายด้วยตารุง เดราจัต ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย
ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ
มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
วายัง กูลิต (Wayang Kilit)
เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
ระบำบารอง (Barong Dance)
ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ
เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง
เครื่องแต่งกายประจำชาติ
สกุลเงิน
รูเปียห์ (Rupiah) เป็นสกุลเงินของประเทศอินโดนีเซีย 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท
The Indonesian Rupiah (IDR) is the official currency of Indonesia. 1000 Indonesian Rupiah = 3 Thai Baht
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
บุคคลสำคัญ
ซูการ์โน (Sukarno)
ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียซึ่งมีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานถึง 22 ปี จนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยนายพลซูฮาร์โต
โมฮัมหมัด ฮัตตา (Mohammad Hatta)
ผู้นำการเคลื่อนไหวและผู้ร่วมอุดมการณ์ในการกอบกู้เอกราชกับซูการ์โน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและรองประธานาธิบดีของประเทศ
ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศอินโดนิเซีย,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mindonesia